4 กุมภาพันธ์ 2564

แนวทางการทำวิจัย ในนักศึกษาแพทย์ปีที่ 4

 จากการพานักศึกษาแพทย์ปีที่ 4 มทส. ทำวิจัยมาหลายๆ รุ่น ได้รวบรวมกระบวนการ ขั้นตอนที่นักศึกษาต้องทำวิจัย คร่าวๆ ดังนี้ครับ

 

1.         ศึกษาชุมชน  ค้นหาปัญหาการวิจัย 

1.1.        ศึกษาข้อมูลชุมชน จากข้อมูลทุติยภูมิ  (Internet , เอกสาร)

1.2.        ลงสำรวจชุมชน ค้นหาปัญหา ในพื้นที่

1.3.        จัดเรียงลำดับ และ จัดความสำคัญของปัญหา

1.4.        ศึกษารายละเอียด ประเด็น ของปัญหาที่ต้องการศึกษา ให้ชัดเจน กระชับ  ว่าจะศึกษาวิจัยในประเด็นใดบ้าง  ต้องการรู้อะไร (What) เกิดปัญหากับใคร ใครเสี่ยง (Who) เกี่ยวข้องกับเวลา จะศึกษาย้อนหลัง ไปข้างหน้า หรือช่วงใดช่วงหนึ่ง (When) ศึกษาขอบเขตพื้นที่แค่ไหน (Where)  อะไรที่เกี่ยวข้อง มีความสัมพันธ์กับปัญหาบ้าง (Why)

2.         ตั้งวัตถุประสงค์ในการศึกษา  เชิงพรรณนา  เชิงวิเคราะห์

3.         กำหนดคำถามของการวิจัย

4.         ทบทวน ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

4.1.        เนื้อหาพื้นฐาน เบื้องต้นของปัญหา โรค ภาวะ ปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา

4.2.        ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กับปัญหา โรค ภาวะ ปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา

4.3.        ทบทวนวิจัยในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง หรือสอดคล้องกับปัญหา โรค ภาวะ ปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษา

4.4.        การบันทึกผลการทบทวน ควรเขียนเอกสารอ้างอิงไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการทำบรรณานุกรม

5.         สร้างสมมุติฐาน ในการวิจัย ว่าจะวิจัยประเด็นใดบ้าง  กว้าง-มากแค่ไหน  ตามปัจจัยที่รวบรวมได้จากการทบทวนวรรณกรรม

6.         สร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย  จากวัตถุประสงค์ และสมมุติฐานในการวิจัย

7.         กำหนด/คาด ว่าสิ่งที่จะได้รับจากการศึกษาวิจัยนี้ (ระวังไม่ใช้ วัตถุประสงค์มาเขียน)

8.         กำหนด Research Methodology  ให้สอดคล้องกับ กรอบแนวคิด ประเภทของคำถามการวิจัย (อาจใช้ DEPTh model)  ทิศทางของการเป็นเหตุ เป็นผล (Cohort , Case control , Cross sectional) เก็บข้อมูลไปข้างหน้าหรือดูข้อมูลย้อนหลัง (Prospective , Retrospective)

9.         กำหนดประชากร ว่าประชากรที่จะศึกษา คือใครบ้าง  

9.1.        คำนวณขนาดตัวอย่าง  (สูตรคำนวณขึ้นกับ  Methodology) 

9.2.    กำหนดกลุ่มตัวอย่าง เกณฑ์คัดเข้า (Inclusion criteria) เกณฑ์คัดออก (Exclusion criteria) 

9.3.        กำหนดวิธีสุ่มตัวอย่าง เพื่อลดค่า Bias ต่างๆ 

9.4.    กำหนด หรือระบุวิธีการเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้สามารถพบกล่มตัวอย่างได้รวดเร็วครบถ้วน

10.     กำหนดตัวแปรที่ต้องการศึกษาทั้งหมด รวมถึงมาตรวัดของตัวแปร ให้สอดคล้องกับ กรอบแนวคิด

11.     กำหนดชื่อเรื่อง (กำหนดตรงนี้ เพราะ จะตั้งชื่อเรื่องต้องใช้ ตัวแปรตาม และกลุ่มประชากร เป็นองค์ประกอบสำคัญ)

12.     สร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (แบบสอบถาม  แบบสัมภาษณ์  แบบสังเกต)

12.1.    ทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity)  ของเครื่องมือโดยใช้ค่า IOC  (Index of item Objective Congruence)

12.2.    ทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) [วัดกี่ครั้งก็เหมือนเดิม]  โดยใช้ค่า α coefficient

12.3.    ทดสอบความยากง่ายของเครื่องมือ (Difficulty)

13.     สร้างตารางกำหนดค่า ของตัวแปรต่างๆ  (Table Specification , coding)

14.     สร้างตารางเก็บข้อมูล Dummy table ในการวิเคราะห์ในโปรแกรม SPSS โดยกำหนด label รหัสต่างๆ  ค่า missing ประเภทข้อมูลให้เรียบร้อย

 

ข้อที่ 1 – 15 เป็นการจัดเตรียมข้อมูล เพื่อเขียน โครงร่างการวิจัย เพื่อนำเสนอ ในการขอความเห็นเรื่องจริยธรรมการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติ ต้องส่งและได้รับความเห็นชอบว่า ไม่ผิดจริยธรรมการทำวิจัยแล้วจึงลงมือทำวิจัยได้ (บางครั้งกรรมการจริยธรรมการวิจัยอาจให้มีการปรับแก้กระบวนงาน หรือตัวแปรบางตัว)

กรณีงานวิจัยของนักศึกษาแพทย์ ปีที่ 4  เนื่องจากมีเวลาในการจัดทำสั้นและจำกัดด้านช่วงเวลา จึงไม่สามารถในการขอพิจารณาด้านจริยธรรมได้

 

15.     การลงเก็บข้อมูลการวิจัย

15.1.    ประสานงานหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงเรียน ผู้นำชุมชน อสม. เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ในพื้นที่

15.2.    จัดเตรียมเอกสารในจำนวนที่เพียงพอ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องชั่งน้ำหนัก สายวัด ฯลฯ

15.3.    ประชุมผู้เก็บข้อมูล (กรณีมีหลายคน) เพื่อซักซ้อมความเข้าใน ในการเก็บข้อมูล ประเด็นคำถาม การบันทึก ตรวจสอบข้อมูล

15.4.    จัดเตรียมยานพาหนะในการลงเก็บข้อมูล โดยวางแผนการเดินทางให้สั้น ประหยัดเวลา

15.5.    การจัดเตรียมอาหารกลางวัน น้ำดื่ม (บางครั้งสถานที่ออกไปเก็บข้อมูล อาจไม่มีความพร้อมในการหาอาหารกลางวัน หรือต้องรบกวนพื้นที่มากเกินไป)

15.6.    อุปกรณ์ส่วนบุคคล เช่น หมวก ร่ม ครีมกันแดด โทรศัพท์เพื่อการนัดหมายติดต่อ ฯลฯ

16.     การบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์

16.1.    ลงรหัสประจำแบบสอบถาม เพื่อการแก้ไข กรณีลงข้อมูลผิด

16.2.    บันทึกข้อมูลในแบบที่สร้างไว้ ตามตัวแปรและรหัสที่กำหนดใน Table Specification

16.3.    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

16.4.    ปรับปรุงข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ (การจัดกลุ่ม การแปลงค่าคะแนน ใช้ Recode หรือ Compute  data) [อย่าลืมเพิ่มตัวแปรใหม่ ลงใน Table Specification ด้วย]

17.     การวิเคราะห์ข้อมูล โดยโปรแกรม SPSS

17.1.    Descriptive analysis

17.2.    Inferential analysis

17.3.   Multivariable analysis

18.     บันทึกผลการวิเคราะห์ในตาราง Dummy table รวมทั้งค่า จากการวิเคราะห์ เช่น ค่า P-value , Mean , SD , Odds ratio , 95% CI , Adj. Odds ratio  ฯลฯ

19.     นำตารางการวิเคราะห์ มาแปลผล ความหมายของผลการวิเคราะห์  

20.     เปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ กับ เอกสารที่ทบทวนมาได้ ไม่นำมาเปรียบเทียบเฉยๆ ว่าสอดคล้องหรือไม่สอดคล้อง  แต่ต้องอภิปรายผล ตามทฤษฎีหรือแนวคิด หรือแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล

21.     สรุปรวบยอดของการวิเคราะห์ข้อมูล โดยอ้างอิงกับวัตถุประสงค์  (ทุกวัตถุประสงค์ต้องมี ผลและการวิเคราะห์)

22.     ประเมินว่าจะนำผลการวิเคราะห์ศึกษา ไปใช้ประโยชน์อย่างไร

22.1.    กรณีศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยเกิดโรค อาจตั้งเป็นประเด็น ในเชิงการป้องกันโรค Primary prevention , secondary prevention , tertiary prevention

22.2.    กรณีเป็นการป้องกันโรคหรือภาวะที่เป็นภาพรวม อาจพิจารณาจากหน่วยย่อยจนถึงภาพรวมอำเภอ จังหวัด ประเทศ  โดยพิจารณาความร่วมมือของชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น ครู กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย

23.     วิเคราะห์ว่า การวิจัยมีข้อบกพร่องอย่างไร และมีข้อเสนอแนะอย่างไร ในการศึกษาแบบนี้ เพื่อแก้ข้อบกพร่อง (อย่าพูดเรื่องงบประมาณ)  และถ้าผู้อ่านสนใจจะทำวิจัยเชิงลึก หรือเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง

24.     รวบรวมเอกสารที่ทบทวน นำมาเขียนบรรณานุกรม ตามระบบ Vancouver 

25.     ประวัติผู้วิจัย  กิตติกรรมประกาศ (ขอบคุณผู้ให้ความร่วมมือ และสนับสนุน)

26.     สรุปสิ่งที่ทำตั้งแต่บทที่ 1-5 มาสั้นๆ  ไม่เกิน 200-250 คำ หรือ 15-20 บรรทัดเป็นบทคัดย่อ (Abstract)

27.      จัดพิมพ์รายงานผลการวิจัย ตามแบบฟอร์ม  การจัดทำรายงานการวิจัย ของราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว แห่งประเทศไทย 2551

28.     ก่อนจะส่ง ควรอ่านทบทวน พิสูจน์อักษรอีก 1-2 รอบ เพื่อลดอัตราการพิมพ์ผิด ร่วมกับใช้ โปรแกรมตรวจสอบคำผิดใน MS Word ช่วย

29.     ถ่ายเอกสาร ทำปก เย็บเล่ม ตามรูปแบบ แล้วนั่งมองผลงานด้วยความชื่นชม และภูมิใจ ......


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณา แนะนำ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ ครับ ขอบคุณ