5 มีนาคม 2564

บทที่ 2 ที่มาและความสำคัญของการวิจัย

 บทที่ 2   ที่มาและความสำคัญของการวิจัย

Background, rationale & significant

     หมายถึง พื้นฐานภูมิหลังวิจัย เหตุผลที่ทำวิจัย ความสำคัญหรือนัยสำคัญของการวิจัย มีความสำคัญอย่างไรหรือจึงต้องทำวิจัย ไม่ทำไม่ได้เหรอ ต้องตอบให้ได้นะครับ
  • - ประเด็นที่จะทำวิจัยเป็นเรื่องอะไร
  • - มีข้อสงสัยอะไร หรือปัญหาอะไรที่เรามองเห็น
  • - ที่มา-ที่ไปของปัญหา เป็นอย่างไร ต้องไปทบทวนมา ความจริงคนที่มีประสบการณ์ดูแลคนไข้มา 5-10 ปี เห็นแล้วครับาปัญหามันคืออะไร ตอนที่เรียนมา ตำราบอกไว้ว่าอย่างนั้น เวลาเจอคนไข้จริงทำไมเป็นอย่างนี้ นี่คือปัญหาล่ะครับ ไม่มีใครหรอกที่ไม่เจอปัญหา มันต้องมีแน่นอน
  • - Existing knowledge รู้อะไรอยู่ก่อนแล้ว สิ่งที่เราสงสัย มีคนตอบอยู่ก่อนแล้วหรือยัง ความรู้ที่เรามีและต้องเป็นปัจจุบันด้วยนะครับ  ทำไมต้องเป็นปัจจุบัน แม้ definition ของ Sepsis เรียนมากี่ปีแล้วเดี๋ยวนี้ก็เปลี่ยนไปแล้ว ความรู้ทุกอย่างเปลี่ยนได้  เราจึงต้อง update ตัวเอง ความรู้ปัจจุบันเป็นอย่างไร การทำวิจัยย้อนยุคไม่ได้ครับ การทำวิจัยต้อง base on ความรู้ ณ ปัจจุบัน ต้องตามโลกให้ทัน ว่าตอนนี้เขาไปถึงไหนแล้ว อย่าหลับหูหลับตา เมื่อ 20 ปีก่อนฉันยังไม่รู้ ไม่เคยอ่านตำราเลย วันดีคืนดีลุกขึ้นมาทำวิจัย ปรากฏว่าเขาทำมาหมดแล้ว เมื่อ 10 ปีที่แล้ว แล้ววิจัยจะขอ C ได้อย่างไร      
  • - Knowledge gap  มีอะไรที่ยังไม่รู้ อะไรคือความรู้ที่ยังขาดอยู่ ตรงไหนที่ยังไม่มี ทฤษฎียังไม่บอก วิจัยยังไม่มีคนทำ ตรงนั้นจะเป็นจุดเด่นของงานวิจัยชิ้นใหม่ ที่จะเติมเต็ม Knowledge gap  แต่ต้องเป็นของจริงนะครับ ไม่ใช่ว่า “ไม่มีหรอกค่ะ วิจันนี้เป็นวิชัยชิ้นแรก หนูเป็นคนคิดคนแรกของโลก” จริงๆแล้วหาไม่เจอเอง หรือไม่ได้หาให้ละเอียดเอง
  • - ต้องการคำตอบอะไร ต้องเดาคำตอบได้ด้วย และคำตอบนั้น ไม่ว่าผลจะเป็นทางบวก ทางลบ มันต้องมีความหมายเอาใช้ได้
  • - รู้คำตอบแล้วจะไปทำอะไร บางคนทำวิจัยเพียงเพื่อรู้ แต่รู้แล้วก็งั้นๆ แล้วจบ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร ไม่นำสู่ clinical Implication

แนวทางการเขียนความสำคัญ จะเขียนอย่างไร
     การเขียนความสำคัญของงานวิจัย เราจะเจอในส่วนแรกเวลาเราอ่านวิจัย บางวารสารอาจใช้คำว่า Introduction (บทนำ) บางวารสารอาจใช้คำว่า Background (ความเป็นมา) บ้างใช้ Significance (นัยสำคัญ) สำหรับ JAMA ใช้คำว่า ความสำคัญ (Importance) ซึ่งตรงบอกว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร
     เนื้อความที่ควรจะหัดเขียนให้ได้เมื่อเขียน concept paper ต้องระบุความสำคัญของวิจัยที่จะทำให้ได้ เนื้อความส่วนนี้ควรจะเขียน 3-5 ย่อหน้า อย่าเขียนเป็นพืดติดกันไปหมด ต้องหัดแบ่งย่อหน้า (ถ้าต่ำกว่า 3 หน้า คนอ่านจะนำไปนินทาว่า “อะไรกันนี่ จะทำวิจัยทั้งทีเขียนมาแค่นี้ ไม่มีกึ๋น”  ถ้าเกิน 5 คนอ่านก็จะนินทาอีก “เฮ้ย เข้าเรื่องซะทีซิ อารัมพบทอยู่นั่นแหละ เบื่อ” ดังนั้นความเหมาะสมอยู่ที่ 3-5 ย่อหน้า เนื้อความไม่ควรเกิน 1 หน้า สั้นๆได้ใจความ ไม่สั้นเกินไปและไม่ยาวเกินไป
  1.   ประเด็นที่จะทำวิจัยครั้งนี้สำคัญอย่างไร มีที่มาอย่างไร
  2.   การวิจัยที่คล้ายกับเรื่องที่จะทำครั้งนี้ กล่าวถึงสิ่งที่น่าจะเป็นคำตอบไว้ว่าอย่างไรบ้าง (โดยสรุป)
  3.   ถ้ายังไม่เคยมีคำตอบในเรื่องนี้ การวิจัยนี้จะเติมเต็ม knowledge gap ได้อย่างไร  แต่ถ้ามีคำตอบแล้ว ทำไมจึงยังต้องทำวิจัยอีก ก็ defend ตัวเองมาซิครับ ว่าต้องทำซ้ำเพราะอะไร ไม่ใช่ me too ทำแล้วได้คำตอบเหมือนเดิม อ้าวแล้วทำไปทำไม วิจัยนี้จะตอบคำถามอะไรเพิ่มเติมจากของเดิม

     เนื้อความนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นการนำเข้าสู่วัตถุประสงค์ บางคนเขียนความเป็นมาดีๆ แต่เมื่อถึงวัตถุประสงค์เป็นคนละเรื่อง ไม่เกี่ยวกันเลย เหมือนเครื่องบินบินมาดีๆ แต่ landing ไม่ดี ถึงแล้วหล่นตุ๊บ คนตายทั้งลำ  ต้องมี landing คือ จากที่เขียนมา 3-5 หน้า ต้องนำสู่วัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้อง ต่อเนื่อง กันโดยตรง ต้องหัดเขียน ถ้าทำวิจัยมาดี แต่เขียนไม่เป็นก็จบเห่

การวิจัยเรื่องนี้มีความสำคัญหรือมีที่มาอย่างไร  ประกอบด้วย

  1. . ผู้เขียนต้องเขียนให้เห็นขนาด(magnitude) และความรุนแรง(severity) ของปัญหา เช่น บอกว่าปัญหามีเยอะ เยอะแค่ไหน (มีเยอะไม่มีความหมาย) ต้องเป็นตัวเลข เช่น จำนวน case incidence Prevalence หรือสถิติที่เป็นตัวเลข เพราะเราบอกแล้ว การวิจัยเชิงปริมาณต้องมีตัวเลข และที่สำคัญต้องอ้างอิงด้วย ต้องมี citation ด้วย
  2. . แสดงให้เห็นแนวโน้มของปัญหา (trend) ถ้าปัญหามันมีอยู่จริง มันต้องมีมานานแล้ว หรือแต่ก่อนมันไม่มี แล้วเพิ่งจะมี ต้องแสดงสถิติ อัตราแนวโน้มให้เห็นด้วย และที่สำคัญคือ ผลกระทบ (impact หรือ consequence) ของปัญหา  เพราะปัญหาที่พบจะเป็นปัญหาได้ก็ต่อเมื่อมันกระทบต่อใครบางคน ถ้าปัญหาที่เราบอกว่าเป็นปัญหาแต่ไม่กระทบกับใครเลยจะเป็นปัญหาได้อย่างไร มันจึงต้องมีผลกระทบที่สามารถจะระบุได้ ว่ามันทำให้เกิดอะไรขึ้น เป็นหน้าที่ของผู้เขียนที่จะต้องระบุให้ชัดเจน
  3. . การวิจัยที่ผ่านมา กล่าวถึงการหาคำตอบเรื่องนี้ว่าอย่างไร    -บรรยายเป็นการสรุปเชิงทฤษฎี (theoretical background)  สรุป exiting evidence จากวิจัยที่มีผู้รายงานไว้แล้ว (research review) [ไม่ใช่ literature review ซึ่งเป็นภาษาของวิจัยเชิงสังคม แต่ทาง clinic เรานิยมใช้ research review มากกว่า]  -ะบุเนื้อความที่สามารถสรุปได้ (finding) หรือข้อสรุปที่ยังไม่ชัดเจน (controversy) อ่านมาแล้วสรุปว่า ค่ายนั้นบอกว่าอย่างนี้ ค่ายนี้บอกว่าอย่างนั้น ไม่ลงรอยกันจะเชื่อใครดี เมื่อไหร่ก็ตามที่ความรู้มันมี controversy มันน่าทำวิจัย แต่ถ้าความรู้ที่อ่านมาทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกัน ถามตัวเองว่ายังต้องหาคำตอบอีกไหม ในเมื่อทุกคนมีคำตอบแล้ว
  4.   การวิจัยครั้งนี้จะตอบคำถามอะไรเพิ่มเติม -บรรยายถึงความจำเป็นที่จะต้องทำวิจัยครั้งนี้ (significance of research) [=ทำไปทำไม]  -บรรยายสภาพ/สถานการณ์/ประโยชน์ที่จะเกิด ถ้าได้คำตอบ อย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้เกี่ยวข้องกับปัญหาโดยตรง [=ดีอย่างไร] -มองเห็นการนำไปใช้ประโยชน์ล่วงหน้า [=ใช้อย่างไร]
     การเขียนงานวิชาการค่อนข้างยาก เพราะมันไม่เหมือนเขียนไดอารี่ เขียนบันทึก เพราะ
  • ต้องใช้สำนวนหรือภาษา บอกเล่าเชิงวิชาการ 
  • เขียนแบบกระชับสั้นๆ ได้ใจความ ไม่อ้อมค้อม ไม่วกไปวนมา 
  • วลีซ้ำๆ หรือคำฟุ่มเฟือยเอาออกให้หมดแล้วจึงระบุวัตถุประสงค์ (objective) ของงานวิจัย
  • สิ่งที่เขียนต้องเน้นเป็นความจริง fact,finding & figures-ตัวเลข) เป็นหลัก เพราะมันเป็นงานวิทยาศาสตร์  
  • อย่าเล่นสำนวน/สอดแทรกอารมณ์-ความรู้สึก/หรือเน้นถ้อยคำ แบบเรียงความพรรณนาโวหาร ไม่มีใครอยากอ่าน  อันนั้นเป็นวรรณคดี ไม่ต้องเขียนแบบนั้น

-----------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณา แนะนำ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ ครับ ขอบคุณ