13 มีนาคม 2564

บทที่ 6 ขอบเขตของการวิจัย

 บทที่ 6   ขอบเขตของการวิจัย 
Scope of research)

     การกำหนดขอบเขตของการวิจัย เป็นการกำหนดขอบเขตของประชากร   กรอบแนวคิดในการวิจัย จำนวนตัวแปรที่ศึกษา และช่วงระยะเวลาที่ศึกษา ซึ่งควรสอดคล้องกับกรอบแนวคิดในการวิจัย (สุวิมล  ว่องวาณิช และนงลักษณ์ วิรัชชัย, 2546)
     ในการเขียนขอบเขตของการวิจัยในโครงการวิจัย ควรระบุเหตุผลที่คัดเลือกตัวแปรบางตัวที่นำเข้ามาศึกษาในกรอบแนวคิด ตลอดจนเหตุผลที่ตัดตัวแปรบางตัวออกจากกรอบแนวคิดของการวิจัย ไม่ควรระบุแต่ชื่อตัวแปรที่ศึกษาว่าคืออะไรเท่านั้น แต่ต้องขยายความให้เห็นแนวคิดเบื้องหลังเพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจวิธีคิดหรือทฤษฎีที่ผู้วิจัยใช้เป็นฐานในการกำหนดกรอบแนวคิดได้ชัดเจน

1. ขอบเขตของประชากร ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของประชากร แหล่งที่มา ประชากร ขนาดประชากร เช่นประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยโรคหืด ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลสุรินทร์
2. ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา ซึ่งอาจเกี่ยวกับชนิดของตัวแปร โครงสร้างหรือองค์ประกอบของตัวแปร เช่น สมรรถภาพของครูคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ด้านความรู้ความเข้าใจเนื้อหาสาระวิชา ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้านความสามารถในการสอนและด้านบุคลิกภาพ
3. ขอบเขตของระยะเวลาที่ศึกษา เป็นการกำหนดช่วงเวลาของเรื่องหรือเหตุการณ์ ที่ต้องการศึกษา เช่น การศึกษาครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ.2541
4. ขอบเขตเนื้อหา เช่น วิชาและ/หรือเรื่อง/หัวเรื่องที่ต้องการศึกษา
5. ขอบเขตอื่นๆ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูล

<<<------------------------------------------------------->>>

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณา แนะนำ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ ครับ ขอบคุณ